การศึกษาองค์ประกอบของภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ในหน่วยงานภาครัฐ

Udomkate Radnui* Supattra Pranee**, Tanapol Kortana *** & Bundit Pungnirund ****

*College of Innovation and Management, Suan Sunandha Rajabhat University, Bangkok, Thailand

**College of Innovation and Management, Suan Sunandha Rajabhat University, Bangkok, Thailand

***College of Innovation and Management, Suan Sunandha Rajabhat University, Bangkok, Thailand

****Faculty of Management Science,Suan Sunandha Rajabhat University, Thailand

E-Mail: *udomkate_r@yahoo.com**supattra.pr@ssru.ac.th, ***tanapol.ko@ssru.ac.th, ****bandit.pu@ssru.ac.th

บทคัดย่อ

          การศึกษาวิจัยเรื่อง องค์ประกอบของภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ในหน่วยงานภาครัฐ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาองค์ประกอบของภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ในหน่วยงานภาครัฐ การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเอกสาร (Documentary research) โดยใช้ข้อมูลทุติยภูมิ (Secondary data) จากเอกสาร และงานวิจัยที่เกี่ยวข้องในการศึกษาค้นคว้า วิเคราะห์ และสังเคราะห์ข้อมูลเพื่อให้ได้องค์ประกอบของภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ในหน่วยงานภาครัฐ     ผลการศึกษา พบว่า องค์ประกอบของภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ด้านการนำกลยุทธ์ไปปฏิบัติ มี 4 ด้าน ได้แก่ ด้านการวางแผน (Planning) ด้านการจัดองค์การ (Organizing) ด้านการนำ (Leading) และด้านการควบคุมองค์การ (Controlling)

คำสำคัญ ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์/องค์กรภาครัฐ

บทนำ

          ภายใต้บทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 65 ได้กำหนดให้มี “ยุทธศาสตร์ชาติ” เพื่อเป็นยุทธศาสตร์ในการพัฒนาประเทศในระยะยาว พร้อมกับการปฏิรูปและการพัฒนาระบบและกลไกการบริหารราชการแผ่นดินในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ ให้สามารถนำไปสู่การปฏิบัติอย่างจริงจัง ซึ่งจะช่วยยกระดับคุณภาพของประเทศไทยในทุกภาคส่วนและนำพาประเทศไทยให้หลุดพ้นหรือบรรเทาความรุนแรงของสภาพปัญหาที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน และสามารถรับมือกับภัยคุกคามและบริหารจัดการความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นในอนาคต สามารถเปลี่ยนผ่านประเทศไปพร้อมๆ กับการเปลี่ยนแปลงภูมิทัศน์ใหม่ของโลกได้ ซึ่งจะทำให้ประเทศไทยยังคงรักษาบทบาทสำคัญของเวทีโลก สามารถดำรงรักษาความเป็นชาติให้มีความมั่นคง และคนไทยในประเทศมีความอยู่ดีมีสุขอย่างถ้วนหน้ากัน (สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา.2560) 

          ปัจจุบันองค์การต่างๆ ต้องเผชิญกับสภาวะการเปลี่ยนแปลงทางด้านเศรษฐกิจ สังคมการเมืองและเทคโนโลยีอย่างมากมายส่งผลให้ทุกองค์การต้องมีการปรับตัวเพื่อความอยู่รอด และการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ทุกองค์การต้องช่วยกันพัฒนาคนให้มีความรู้ความสามารถ มีค่านิยมที่ดีในการดำเนินชีวิตอยู่ในสังคม ดังนั้นองค์การที่จะประสบความสำเร็จและอยู่รอดได้ ต้องเป็นองค์การที่สามารถกระตุ้นและส่งเสริมความสามารถของบุคลากรในการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องทั่วทุกระบบในองค์การ ซึ่งก็หมายถึงการพัฒนาไปสู่ “องค์การแห่งการเรียนรู้” นั่นเององค์การที่จะได้เปรียบในการแข่งขันแบบยั่งยืนได้ ในสภาพที่ เปลี่ยนแปลงไปนั้นจำเป็นอย่างยิ่งที่องค์การจะต้องเรียนรู้ได้ดีกว่าและเร็วกว่า   องค์การแห่งการเรียนรู้ต้องมีโครงสร้างที่ เหมาะสม ไม่มีสายการบังคับบัญชามากเกินไป มีวัฒนธรรมการเรียนรู้ ในองค์การทุกคนมีส่วนสร้างและถ่ายโอนความรู้ มีเทคโนโลยีสนับสนุนการเรียนรู้ มุ่งเน้นคุณภาพ มีบรรยากาศที่เกื้อหนุน และมีวิสัยทัศน์ร่วมกัน หัวใจขององค์การแห่งการเรียนรู้ คือ องค์การมีผู้นำที่เป็นเลิศ มีรูปแบบการคิด มีวิสัยทัศน์กว้างไกล และย้ำเน้นความมีกลยุทธ์ (สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2559) ถือได้ว่าองค์การนั้นมีผู้นำเชิงกลยุทธ์ 

          ผู้นำเชิงกลยุทธ์เป็นผู้นำที่มุ่งเน้นเป้าหมาย การประเมินซ้ำที่เป้าหมายและคุณค่าขององค์การ รวมทั้งกำหนดทิศทางขององค์การที่จะเดินไปและให้อำนาจแก่ผู้ปฏิบัติงานให้มีความคิดสร้างสรรค์ในการทำงานด้วย (รังสรรค์ ประเสริฐศรี.2544) ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์เป็นกระบวนการกำหนดทิศทางการสร้างทางเลือกและการนำไปสู่การปฏิบัติ ผู้นำตามทฤษฎีนี้จะเชื่อว่าการที่จะให้บรรลุวัตถุประสงค์ขององค์การนั้นไม่ใช่จะอาศัยโชค ช่วยแต่จะต้องเป็นผลจากการที่ต้องคอยติดตามสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงทั้งภายในภายนอกองค์การ การคาดการณ์ถึงอนาคตขององค์การในระยะยาวและการพัฒนายุทธศาสตร์เพื่อมุ่งไปสู่อนาคตที่ พึงประสงค์ ในปัจจุบันสภาวะแวดล้อมขององค์การมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วหากผู้นำองค์การไม่มีการปรับตัวก็ยากที่จะบริหารองค์การให้ประสบความสำเร็จได้ (วิโรจน์ สารรัตนะ. 2557). 

          ดังนั้น ผู้นำองค์การจะต้องมีการปรับตัวให้เข้ากับสภาวะของการเปลี่ยนแปลงพร้อมทั้งปรับความคิดการกระทำ และวิธีการในการทำงานโดยยึดเป้าหมายขององค์การเป็นสำคัญ รวมถึงการทำให้บุคลากรในองค์การและบุคคลภายนอก มีเจตคติที่ดีกับองค์การและผู้นำด้วย ผู้บริหารจึงต้องเห็นความสำคัญของความรู้ ความสามารถของบุคลากรแต่ละคนมากขึ้นรวมทั้งการหาวิธีใช้ประโยชน์จากความรู้และความเชี่ยวชาญนั้น ส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้แลกเปลี่ยนเรียนรู้และแบ่งปัน ความรู้จนทำให้เกิดการไหลเวียนของความรู้ในองค์การได้อย่างรวดเร็ว องค์การแห่งการเรียนรู้เป็นองค์การที่มุ่งเน้น การกระตุ้นเร่งเร้าและจูงใจให้บุคลากรทุกคนในองค์การมีความกระตือรือร้นที่จะเรียนรู้ พัฒนาตนเองอยู่ตลอดเวลาทำให้ องค์การมีความรู้ของบุคลากรเป็นทุนและสามารถนำความเชี่ยวชาญที่มีอยู่ในองค์การมาใช้ได้อย่างเห็นผลร่วมกับการเอื้ออำนาจให้แก่บุคคลที่เกี่ยวข้องกับการจัดการความรู้ และประยุกต์ใช้เทคโนโลยี เพื่อขยายศักยภาพทั้งของตนเอง ทีมงานและองค์การให้สามารถปฏิบัติงานได้สำเร็จและบรรลุตามเป้าหมายขององค์การ 

วัตถุประสงค์

เพื่อศึกษาองค์ประกอบของภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ในหน่วยงานภาครัฐ

วิธีการศึกษา

          การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเอกสาร (Documentary research) โดยใช้ข้อมูลทุติยภูมิ (Secondary data) จากเอกสาร และงานวิจัยที่เกี่ยวข้องในการศึกษาค้นคว้า วิเคราะห์ และสังเคราะห์ข้อมูลเพื่อให้ได้องค์ประกอบของภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ในหน่วยงานภาครัฐ

การทบทวนวรรณกรรม

          ผู้วิจัยได้ทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องเพื่อรวบรวมเป็นองค์ประกอบของภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์จากนักวิชาการและนักวิจัยที่เกี่ยวข้อง รายละเอียด ดังนี้

ตารางที่ 1 แสดงที่มาขององค์ประกอบภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์

  นักวิชาการ/ผู้วิจัยภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์
  การวางแผน (Planning)  การจัดองค์การ (Organizing)  การนำ (Leading)การควบคุมองค์การ (Controlling)
วิโรจน์ สารรัตนะ (2542ก)
ศิริวรรณ เสรีรัตน์และคณะ (2548)
สุเทพ พงศ์ศรีวัฒน์ (2550)
กัญยรัตน์ เมืองสง (2550)
เชวงศักดิ์ พฤกษเทเวศ (2553)
วิโรจน์ สารรัตนะ (2553)
พิชาภพ พันธ์แพ (2554)
ตวัญจ์ลักษณ์ พวงนิล (2555)
วิราพร ดีบุญมี  (2556)
กัณฑ์กณัฐ สุวรรณรัชภูม์ (2556)
ไพฑูรย์ สินลารัตน์ (2557)
ดารุวรรณ  ถวิลการ (2560)
กีระพงศ์ ผาภูมิ (2560)
Nahavandi, A (2006),
Lussier, Rober & Achua Christopher (2010)
John Adair (2010)
Matthew Lynch (2012)

ผลการศึกษา

          องค์ประกอบของภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ด้านการนำกลยุทธ์ไปปฏิบัติ มี 4 ด้าน ได้แก่ ด้านการวางแผน (Planning) ด้านการจัดองค์การ (Organizing) ด้านการนำ (Leading) และด้านการควบคุมองค์การ (Controlling) ดังภาพที่ 1 

ภาพที่ 1 แสดงองค์ประกอบของภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ด้านการนำกลยุทธ์ไปปฏิบัติ

สรุปผลการศึกษา

องค์ประกอบของภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ (Strategy Leadership) ด้านการนำกลยุทธ์ไปปฏิบัติ
มี 4 ด้าน ได้แก่ ด้านการวางแผน (Planning) ด้านการจัดองค์การ (Organizing) ด้านการนำ (Leading) และด้านการควบคุมองค์การ (Controlling) สอดคล้องกับงานวิจัยของ เชวงศักดิ์ พฤกษเทเวศ (2553) ศึกษาเกี่ยวกับการพัฒนาตัวบ่งชี้ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ งานวิจัยของ ไพฑูรย์ สินลารัตน์ (2557) ศึกษารูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ สำหรับผู้บริหารโรงเรียนระดับมัธยมศึกษา งานวิจัยของวิโรจน์ สารรัตนะ (2556) ศึกกษกระบวนทัศน์ใหม่ทางการศึกษากรณีทัศนะต่อการศึกษาศตวรรษที่ 21 ศิริวรรณ เสรีรัตน์และคณะ (2548) สุเทพ พงศ์ศรีวัฒน์ (2550) จุดประกายความคิดเรื่อง“การกระจายภาวะผู้นำ และNanayakkara, G., & Iselin, E. R. (2012)

บรรณานุกรม

เชวงศักดิ์ พฤกษเทเวศ (2553) การพัฒนาตัวบ่งชี้ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิตสาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ไพฑูรย์ สินลารัตน์ (2557) รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ สำหรับผู้บริหารโรงเรียนระดับมัธยมศึกษา EAU Heritage Journal Social Science and Humanities,4(2),201-211

วิโรจน์ สารรัตนะ (2556) กระบวนทัศน์ใหม่ทางการศึกษากรณีทัศนะต่อการศึกษาศตวรรษที่ 21กรุงเทพฯ:

             ทิพยวิสุทธิ์.

ศิริวรรณ เสรีรัตน์และคณะ (2548) การวิจัยการตลาดกรุงเทพฯ:บริษัทธรรมสาร จำกัด

สุเทพ พงศ์ศรีวัฒน์ (2550) มาจุดประกายความคิดเรื่อง“การกระจายภาวะผู้นำ (Distributed 

          Leadership)”กันเถอะ (ออนไลน์) 23มีนาคม2550 (อ้างเมื่อ3ตุลาคม2556) จาก:

          http://suthepricracth2550.

Nanayakkara, G., & Iselin, E. R. (2012). An exploratory study of the performance of 

                microfinancing institutions using the balanced scorecard approach. 

                International Journal of Business and Information, 7(2), 165.Lussier, Rober & Achua


Posted

in

by

Tags:

Comments

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *